พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต

¤ โกโธ  ทุมฺเมธโคจโร ฯ         ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมี ปัญญาทรามฯ

¤ โกธํ  ฆตฺวา  สุขํ  เสติฯ       ฆ่าความโกรธได้  อยู่เป็นสุขฯ

¤ โกธํ  ฆตฺวา  น  โสจติฯ       ฆ่าความโกรธได้  ไม่เศร้าโศกฯ

¤ โกธํ  ทเมน  อุจฺฉินฺเทฯ       พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจฯ

¤ โกธํ  ปญฺญาย  อุจฺฉินฺเทฯ    พึงตัดความโกรธด้วยปัญญาฯ

¤ ปาปานํ  อกรณํ  สุขํฯ        การไม่ทำบาป  นำสุขมาให้ฯ

¤ ปาปํ  ปาเปน  สุกรํฯ          ความชั่วอันคนชั่วทำได้ง่ายฯ

¤ นตฺถิ  ปาปํ  อกุพฺพโตฯ       บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฯ

¤  น  ฆาสเหตุปิ  กเรยฺย  ปาปํฯ      ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน ฯ

¤  อตฺตนา  ว  กตํ  ปาปํ  อตฺตนา  สงฺกิลิสฺสติ ฯ          ตนทำบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง ฯ

¤ อตฺตนา  อกตํ  ปาปํ  อตฺตนา  ว  วิสุชฌติ ฯ          ตนไม่ทำบาปเอง  ย่อมหมดจดเอง ฯ

¤ กมฺมํ  สตฺเต  วิภชติ  ยทิทํ  หีนปฺปณีตตายฯ     กรรมย่อมจำแนกสัตว์  คือ ให้ทรามและประณีต ฯ

¤ นตฺถิ  ขนฺธสมา  ทุกขาฯ       ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มีฯ

¤ สงขารา  ปรมา  ทุกขาฯ      สังขาร  เป็นทุกข์อย่างยิ่งฯ

¤ ทฬิทฺทิยํ  ทุกฺขํ  โลเกฯ        ความจน  เป็นทุกข์ในโลกฯ

¤ อิณาทานํ  ทุกขํ  โลเกฯ      การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลกฯ

¤ กลฺยาณการี  กลฺยาณํ  ปาปการี  จ  ปาปกํ ฯ   ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่วฯ

¤ กมฺมุนา  วตฺตตี  โลโกฯ       สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมฯ

¤ นิสมฺม  กรณํ  เสยโยฯ        ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ  ดีกว่าฯ

¤ กตสฺส  นตฺถิ  ปฏิการํฯ       สิ่งที่ทำแล้ว  ทำคืนไม่ได้ฯ

¤ สติ สพฺพตฺถ  ปตฺถิยาฯ        สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวงฯ

¤ สติมโต  สทา  ภทฺทํฯ          คนผู้มีสติ  มีความเจริญทุกเมื่อฯ

¤ สีลํ  ยาว  ชรา  สาธุฯ        ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชราฯ

¤ สุขํ  ยาว  ชรา  สีลํฯ          ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชราฯ

¤ สีลํ  โลเก  อนุตฺตรํฯ           ศีลเป็นเยี่ยมในโลกฯ

¤ น  หิ  เวเรน  เวรานิ  สมฺมนฺตีธ  กุทาจนํฯ     ในกาลไหน ๆ  เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ ด้วยการจองเวร ฯ

¤ พาลา  หเว  นปฺปสํสนฺติ  ทานํฯ  คนพาลเท่านั้น  ย่อมไม่สรรเสริญทานฯ

¤ ททํ  ปิโย  โหติ  ภชนฺติ  นํ  พหูฯ      ผู้ให้  ย่อมเป็นที่รัก  คนหมู่มากย่อมคบเขาฯ

¤ มนาปทายี  ลภเต  มนาปํฯ   ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ  ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจฯ

¤ ททโต  ปุญฺญํ  ปวฑฺฒติฯ     เมื่อให้  บุญก็เพิ่มขึ้นฯ

¤ หทยสฺส  สทิสี  วาจาฯ        วาจาเช่นเดียวกับใจฯ

¤ เตสํ  วูปสโม  สุโขฯ           ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุขฯ

¤ นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํฯ           ความสุข (อื่น)  ยิ่งกว่าความสงบ  ไม่มีฯ

¤ นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํฯ           นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งฯ

¤ สุโข  พุทฺธานํ  อุปฺปาโทฯ       ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้ฯ

¤ มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมาฯ       ธรรมทั้งหลาย  มีใจเป็นหัวหน้าฯ

¤ ธมฺมจารี  สุขํ  เสติฯ           ผู้ประพฤติธรรม  อยู่เป็นสุขฯ

¤ ธมฺโม  หเว  รกฺขติ  ธมฺมจารึฯ ธรรมแล  ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมฯ

¤ ปุญฺญํ  โจเรหิ  ทูหรํฯ          บุญอันโจรนำไปไม่ได้ฯ

¤ สุโข  ปุญฺญสฺส  อุจฺจโยฯ      ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ  นำสุขมาให้ฯ

¤ ปุญฺญานิ  ปรโลกสฺมึ  ปติฏฺฐา  โหนฺติ  ปาณินํฯ      เป็นที่พึงของสัตว์ในโลกหน้าฯ

¤ สทฺธา  พนฺธติ  ปาเถยฺยํฯ     ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง  (คือกุศล)ฯ

¤ สทฺธา  สาธุ  ปติฏฺฐิตาฯ       ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว  ยังประโยชน์ให้สำเร็จฯ

¤ เย  ปมตฺตา  ยถา  มตาฯ      ผู้ประมาทแล้ว  เหมือนคนตายแล้วฯ

¤ นานตฺถกามสฺส  กเรยฺย  อตฺถํฯ  ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ ฯ

¤ นตฺถิ  อตฺตสมํ เปมํฯ          ความรัก (อื่น)  เสมอด้วยตนไม่มีฯ

¤ อตฺตา  หิ  กิร  ทุทฺทโมฯ      ได้ยินว่าตนแล  ฝึกได้ยากฯ

¤ อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถฯ   ตนแล เป็นที่พึ่งของตนฯ

¤ นตฺถิ  ปญฺญาสมา  อาภาฯ   แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา  ไม่มีฯ

¤ โยคา  เว  ชายเต  ภูริฯ       ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบฯ

¤ ปญฺญาย  ปริสุชฺฌติฯ         คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญาฯ

¤ สจฺจํ  เว  อมตา  วาจาฯ    คำสัตย์แล  เป็นวาจาไม่ตายฯ

¤ ธีโร  โภเค  อธิคมฺม  สงฺคณฺหาติ  จ  ญาตเกฯ ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว  ย่อมสงเคราะห์ญาติฯ

¤ อินฺทฺริยานิ  รกฺขนฺติ  ปณฺฑิตาฯ       บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ฯ

¤ น  อุจฺจาวจํ  ปณฺฑิตา  ทสฺสยนฺติฯ   บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลงฯ

¤ ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขาฯ     ขันติคือความอดทน  เป็นตบะอย่างยิ่งฯ

¤ ขนฺติ  หิตสุขาวหา ฯ             ความอดทน  นำมาซึ่งประโยชน์สุข ฯ

¤ นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํฯ             ความสุข(อื่น)  ยิ่งกว่าความสงบไม่มีฯ