กฐิน

คำถวายผ้ากฐิน

       อิมัง  ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ,   สาธุ โน  ภันเต  สังโฆ  อิมัง  สะปะริวารัง  กะฐินะทุสสัง  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหต๎วา  จะ  อิมินา  ทุสเสนะ  กะฐินัง อัตถะระตุ,  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ.

คำแปล

       ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้  แก่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน  กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้วจงกรานกฐิน  ด้วยผ้านี้  เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำอปโลกน์กฐิน

แบบ ๒ รูป

(รูปที่ ๑)

       ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ……………พร้อมด้วย…………..ผู้ประกอบด้วยศรัทธา     อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย  แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้    ก็แลผ้ากฐินทานนี้  เป็นของบริสุทธิ์  ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ
แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์  จะได้จำเพาะเจาะจงลงว่า เป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้  มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า  ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง   เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ  ตามพระบรมพุทธานุญาต  และมีคำพระอรรถกถาจารย์  ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า    ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ  รู้ธรรม ๘ ประการ  มีบุพกิจ เป็นต้น  ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร  เพื่อจะกระทำกฐิน       นัตถารกิจ  ตามพระบรมพุทธานุญาตได้

       บัดนี้  พระสงฆ์ทั้งปวง  จะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใด  จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.

(ไม่ต้อง สาธุ)

(รูปที่ ๒)

       ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้  ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่……………….ซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ  เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้  ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง)                ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.              

(สาธุ)

แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน

       นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

       นะโม  ตัสสะ,  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ,

       นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,   อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

       สุณาตุ  เม ภันเต  สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,

ยะทิ  สังฆัสสะ  ปัตตะกัลลัง,  สังโฆ อิมัง  กะฐินะทุสสัง  อายัส๎มะโต

(อิตถันนามัสสะ)  ทะเทยยะ,  กะฐินัง  อัตถะริตุง,  เอสา  ญัตติ.

       สุณาตุ  เม ภันเต  สังโฆ,  อิทัง  สังฆัสสะ  กะฐินะทุสสัง  อุปปันนัง,  สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต (อิตถันนามัสสะ),  เทติ, กะฐินัง อัตถะริตุง, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ, อิมัสสะ  กะฐินะทุสสัสสะ,  อายัส๎มะโต  (อิตถันนามัสสะ)  ทานัง,  กะฐินัง         อัตถะริตุง,  โส  ตุณ๎หัสสะ   ยัสสะ  นักขะมะติ,  โส ภาเสยยะ.          ทินนัง  อิทัง  สังเฆนะ,  กะฐินะทุสสัง  อายัส๎มะโต      (อิตถันนามัสสะ)  กะฐินัง  อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ  ตัส๎มา  ตุณ๎หี,
เอวะเมตัง  ธาระยามิฯ

       หมายเหตุ  ในวงเล็บ  อิตถันนามัสสะ นั้น  ให้ใส่ชื่อผู้ครองกฐินแทน

คำกรานกฐิน

สังฆาฏิ         อิมายะ  สังฆาฏิยา  กะฐินัง  อัตถะรามิฯ  (๓ หน)

อุตตราสงค์     อิมินา  อุตตะราสังเคนะ  กะฐินัง  อัตถะรามิฯ  (๓ หน)

อันตรวาสก    อิมินา  อันตะระวาสะเกนะ  กะฐินัง  อัตถะรามิฯ  (๓ หน)

คำอนุโมทนากฐิน

อัตถะตัง  ภันเต (อาวุโส) สังฆัสสะ  กะฐินัง  ธัมมิโก   กะฐินัตถาโร  อะนุโมทามะ ฯ